วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในประเทศไทย 

อันดับ 10 : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Huachiew Chalermprakiet University) 
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย

อันดับ 10 เป็นของมหาวิทยาลัยที่มีรากฐานมาจากพลังศรัทธา และการบรรเทาสาธารณภัยเพื่อมวลชน ของ “มูลนิธิฮั้วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง” ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่เดิมได้ก่อกำเนิดมาจากโรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย และได้มาตั้งเป็น “วิทยาลัยหัวเฉียว” โดยเปิดสอนหลักสูตรพยาบาล ในระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตรแรก ก่อนที่จะได้รับการยกสถานะเป็น “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวได้ขยายหลักสูตรการศึกษาออกไปมากมาย ทั้งในระดับปริญญาตรี โท เอก และหลักสูตรนานาชาติให้ได้เลือกศึกษากัน โดยในปี 2557 นี้มหาวิทยาลัยหัวเฉียวอยู่ในอันดับที่ 50 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย 
       
อันดับ 9 : มหาวิทยาลัยศรีปทุม (Sripatum University) 

10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย

มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังที่ได้ขยายวิทยาเขตออกไปมากมาย และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีอย่างมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ผลจากการสำรวจและจัดอันดับโดย Webometrics มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย มหาวิทยาลัยศรีปทุมอยู่ในอันดับที่ 48 เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 และได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2530 มีทั้งหมด 4 วิทยาเขตด้วยกันคือ วิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตชลบุรี วิทยาคารพญาไท และวิทยาเขตขอนแก่น โดยเปิดสอนตั้งแต่หลักสูตรปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก รวมทั้งมีสาขาวิชาให้เลือกมากมายในแต่ละหลักสูตรอีกด้วย 

อันดับ 8 : มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต (Kasem Bundit University) 

10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย

ตามมาติดๆ ด้วยมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ในปีนี้ติดอยู่ในอันดับที่ 47 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย จาก webometrics ที่ปัจจุบันได้พัฒนาหลักสูตรและสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ซึ่งก่อนจะมาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ได้เริ่มดำเนินการเปิดเป็นโรงเรียนในระดับประถม และมัธยมศึกษา มาก่อน จากนั้นค่อยพัฒนามาเป็นในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และวิชาชีพชั้นสูง เรื่อยมาจนกลายมาเป็น “วิทยาลัยเกษมบัณฑิต” เปิดสอน 2 สาขาคือ คณะบริหารธุรกิจ และคณะนิติศาสตร์ จนเมื่อปี พ.ศ. 2536 จึงได้เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต” เปิดสอนในระดับปริญญาตรี 10 คณะ รวมทั้งหลักสูตรภาษาอังกฤษ 4 หลักสูตร, ปริญญาโท 12 หลักสูตร และปริญญาเอกอีก 2 หลักสูตร ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตมีทั้งสิ้น 2 วิทยาเขตด้วยกันคือ วิทยาเขตพัฒนาการ และ วิทยาเขตร่มเกล้า
       
อันดับ 7 : มหาวิทยาลัยพายัพ (Payap University) 



เรียกได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของภาคเหนือ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ ก่อกำเนิดมาจากคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนทเข้ามาประกาศเผยแพร่ครั้งแรกในประเทศไทย เริ่มแรกใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยคริสเตียนพายัพ” ในปี พ.ศ. 2514 และเปลี่ยนมาเป็น “วิทยาลัยพายัพ” และเปิดสอนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2517 โดยเปิดสอนทั้งหมด 8 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ดุริยศิลป์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญาศาสนา สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา การบริหารงานบุคคล และอนุปริญญาพยาบาลและอนามัย ต่อมาจึงได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัยเปลี่ยนประเภทจากวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “มหาวิทยาลัยพายัพ” ในปี พ.ศ.2527 เป็นต้นมา และจากการจัดอันดับ webometrics ในปี 2557 นี้ มหาวิทยาลัยพายัพ ติดอยู่ในอันดับที่ 44 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย

อันดับ 6 : มหาวิทยาลัยสยาม (Siam University) 

10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย

มหาวิทยาลัยสยาม หรือชื่อย่อ มส. เป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2508 เดิมชื่อว่า"วิทยาลัยเทคนิคสยาม" ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น "มหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม" ต่อมาตัดคำว่าเทคนิคออกจึงเหลือเพียง "มหาวิทยาลัยสยาม" มาจนถึงปัจจุบัน ครั้งแรกที่เปิดการสอนสาขาช่าง มีเพียงช่างเครื่องยนต์หลักสูตรอนุปริญญา เท่านั้น ปัจจุบันเปิดสอนหลากหลายคณะและสาขาวิชาทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ รวมทั้งสิ้นกว่า 50 หลักสูตร ตั้งแต่ปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชนที่เป็นหลักสูตร 6 ปี ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษเป็น“Doctor of Pharmacy” ใครสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดหลักสูตรที่เว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยได้เลย

 อันดับที่ 5 : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (Mahanakorn University of Technology) 



 "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร" (มทม.) หรือ "Mahanakorn University of Technology" (MUT) แต่เดิมจัดตั้งขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยมหานคร” ในปี พ.ศ. 2533 เนื่องจากช่วงนั้นเป็นยุคที่ประเทศไทยขาดแคลนวิศวกร โดยเปิดดำเนินการสอนเพียงหนึ่งคณะวิชา คือคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต่อมาได้รับการอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัยในวันที่ 30 มีนาคม 2535 ในนาม "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร" นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัยเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยเวลาเพียง 4 ปี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครเปิดดาเนินการสอน คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะบริหารธุรกิจ แต่ก็ยังคงชื่อเสียงในในการผลิตบัณฑิตคุณภาพด้านวิศวกรรมเสมอมา จนถึงปัจจุบัน โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครอยู่ในอันดับที่ 33 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย จากการจัดอันดับโดย webometrics ประจำปี 2557

อันดับ 4 : มหาวิทยาลัยหอการค้า (University of the Thai Chamber of Commerce) 

10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย

อันดับ 4 เป็นของ “มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย” สถาบันการศึกษาชั้นนำด้านธุรกิจในเอเชีย ที่ทุกคนก็ปฏิเสธไม่ได้สำหรับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยของรัฐบาลเลยทีเดียว และยังเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้รับการรันตีว่า นักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยหอการค้ามีอัตราในการจ้างงานที่ค่อนข้างสูง โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีประวัติการก่อตั้งที่ยาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 ใช้ชื่อ"วิทยาลัยการค้า" จนได้ย้ายมาอยู่ในสังกัดของทบวงมหาวิทยาลัย และได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในชื่อใหม่ว่า "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" (The University of the Thai Chamber Commerce) อักษรย่อ มกค. หรือ UTCC โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ติดอยู่ในอันดับที่ 31 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก รวมทั้งหลักสูตรนานาชาติอีกด้วย

อันดับ 3 : มหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University) 



 1 ใน 3 ของมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย คงจะพลาดไม่ได้กับมหาวิทยาลัยแถวหน้าอย่าง “มหาวิทยาลัยรังสิต” ที่ได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการจัดให้อยู่ในระดับ “ดีมาก” ในกลุ่มสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิต และยังติดอยู่ในอันดับที่ 30 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย จากการจัดอันดับของwebometrics ประจำปี 2557 อีกด้วย มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2528 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตมีหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งหมด 138 สาขาวิชา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก และยังเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ที่ขึ้นชื่อว่ามีศิลปิน นักร้อง นักแสดงชื่อดังมากมาย ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้

 อันดับ 2 : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (Bangkok University) 



มาถึงอันดับ 2 ที่เบียดกันมากับมหาวิทยาลัยรังสิต จากอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในอันดับที่ 29 ตกเป็นของ “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ อยู่ภายใต้การสนับสนุนของ "มูลนิธิมหาวิทยาลัยกรุงเทพ" โดยได้เปิดดำเนินการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแถวหน้าของประเทศไทยได้สำเร็จ จากการพัฒนาหลักสูตร และได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เปิดทำการสอนใน 2 วิทยาเขตคือ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท และวิทยาเขตรังสิต ตั้งแต่หลักสูตรปริญญาตรี-เอก, International Program และหลักสูตรสองภาษา มาให้นักศึกษาได้เลือกกัน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เลย

อันดับ 1 : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University of Thailand) 



สำหรับอันดับ 1 มหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2557 ตกเป็นของ “มหาวิทยลัยอัสสัมชัญ” หรือที่เรียกกันติดปากว่า“เอแบค (ABAC)” และได้ใช้ตัวอักษรย่อในภาษาไทยว่า “มอช.” มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ และมีจำนวนศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญยังเรียกได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่สวยงาม ตระการตาที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอีกด้วย ไม่เพียงมีพื้นที่สวยแต่หลักสูตรการศึกษาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะทุกคณะทุกสาขาจะเน้นการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เรียกได้ว่านักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยเอแบคจะขึ้นชื่อในเรื่องพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษอยู่แล้ว และด้วยมาตรฐานระดับโลกจึงทำให้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญติดอยู่ในอันดับที่ 18 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2557 โดยทิ้งห่างอันดับ 2 และ 3 อย่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (อันดับที่ 29) และมหาวิทยาลัยรังสิต (อันดับที่ 30) อยู่พอสมควรเลยทีเดียว










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น